......ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม พระองค์เที่ยว
โปรดเวไนยสัตว์ให้ได้มรรค ๔ ผล ๔ ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสาร ได้ครองราชสมบัติที่กรุงราชคฤห์ก็มี
จิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า แล้วก่อสร้างกุฎีวิหารในพระราชอุทยานเวฬุวัน สวนป่าไม้ไผ่ ให้
เป็นวัดแรกในพุทธศาสนาถวายแก่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พร้อมกับถวาย
ภัตตาหารเป็นสังฆทานสมเด็จพระบรมศาสดา พร้อมกับภิกษุสงฆ์เสร็จภัตตากิจแล้ว พระเจ้าพิมพิสาร
ทูลถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาธุชนทั้งหลายมีใจศรัทธา ปสันนาการ เลื่อมใสมาก่อสร้างกุฎี
วิหารถวายเป็นสังฆทานนั้น จะได้ผลานิสงส์เป็นประการใด ขอให้พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ให้ข้าพุทธเจ้า พร้อมบริษัททั้งหลายให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า องค์สมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร บุคคลผู้ใดมีจิตศรัทธาเลื่อมใสพระ
รัตนตรัยแล้วก่อสร้างกุฎีวิหารศาลาคูหาน้อยใหญ่ ถวายเป็นทาน จะประกอบด้วยผลอานิสงส์มาก เป็น
อเนกประการนับได้ถึง ๔๐ กัลป์
พระองค์ทรงนำอดีตนิทานมาเทศนาต่อไปว่า อดีต ในอดีตกาลล่วงมา
แล้ว พระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติบังเกิดในโลกยังศูนย์เหล่าอยู่สิ้นกาลช้านานในระหว่างนั้นพระปัจเจกโพธิ
เจ้าทั้งหลายก็ได้บังเกิดตรัสรู้ในโลกนี้ เมื่อพระปัจเจกโพธิเจ้าก็อาศัยในป่าหิมพานต์ อยู่มาวันหนึ่งมี
ความปรารถนาเพื่อจะมาใกล้หมู่บ้านอันเป็นว่านแคว้นกาสิกราชมาอาศัยอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่งแถบใกล้
บ้านนั้นมีนายช้างคนหนึ่งอยู่ในหมู่บ้านนั้น ก็ไปป่ากับลูกชายของตน เพื่อจะตัดไม้มาขายกินเลี้ยงชีพ
ตามเคย ก็แลเห็นพระปัจเจกโพธิเจ้านั่งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ พ่อลูกสองคนก็เข้าไปใกล้น้อมกายถวาย
นมัสการแล้ว ทูลถามว่าข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าจะไปไหน จึงมาอยู่ในสถานที่นี้ พระปัจเจกโพธิจึงตอบว่า
ดูกรอาวุโส บัดนี้จวนจะเข้าพรรษาแล้ว อาตมาเที่ยวแสวงหากุฏีวิหาร ที่จะจำพรรษา นายช่างก็อาราธนา
ให้อยู่จำพรรษาในที่นี้พระปัจเจกโพธิ ทรงรับด้วยการดุษณียภาพสองคนพ่อลูกก็ดีใจ จึงขออาราธนา
พระผู้เป็นเจ้าเข้าไปสู่เรือน ถวายบิณฑบาตทานแก่พระปัจเจกโพธิสองคนพ่อลูกก็เที่ยวตัดไม้แก่นมาทำ
สร้างกุฎีวิหารที่ริมสระโบกขรณีใหญ่ และทำที่จงกรมเสร็จแล้วขออาราธนา พระผู้เป็นเจ้าจงอยู่ให้เป็น
สุขเถิดพระเจ้าข้า
ครั้นพระปัจเจกโพธิได้รับนิมนต์แล้ว สองคนพ่อลูกตั้งปฏิธานความปรารถนา ขอให้
ข้าพเจ้าพ้นจากทุกข์ยากไร้เข็ญใจ และขอให้ข้าพเจ้าทั้งสองนี้ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพผู้ประเสริฐองค์
หนึ่งเถิด พระปัจเจกโพธิก็รับอนุโมทนาซึ่งบุญ นายช่างสองคนพ่อลูกอยู่จนสิ้นอายุขัยแล้วก็ทำกาลกริริ
ยาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีวิมานทองเป็นที่รองรับ และเทพอัปสรแวดล้อมเป็นบริวาร
เสวยทิพย์สมบัติอยู่ในสวรรค์สิ้นกาลช้านานจุติจากสวรรค์นั้นแล้วก็ไปบังเกิดเป็นราชบุตรของ
พระเจ้าสุโรธิบรมกษัตริย์ในเมืองมิถิลามหานคร ทรงพระนามว่ามหาปนาทกุมาร ๆ เจริญวัยขึ้นได้
เสวยราชสมบัติ เป็นพระยาจักรพรรดิราช ด้วยอานิสงส์ที่ได้สร้างกุฎีวิหารถวายเป็นทานแก่
พระปัจเจกโพธิ ครั้นตายจากชาติเป็นพระยามหาปนาทแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดในมนุษย์สมบัติสวรรค์
สมบัติ แล้วก็มาเกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฎิอยู่ในภัททิยนคร ชื่อว่า ภัททชิ ก็ได้ปราสาท ๓ หลัง อยู่
ใน ๓ ฤดู ครั้นเจริญวัยได้บวชในศาสนาสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในศาสนาของตถาคตดังนี้แล ส่วน
เทพบุตรองค์พ่อนั้น ยังเสวยทิพย์สมบัติอยู่ในสวรรค์ช้านานจนถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ลงมาตรัส
สัพพัญญู เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมนุษย์โลก ได้จุติลงมาปฏิสนธิในครรภ์ พระอัครมเหสีสมเด็จ
พระเจ้ากรุงเกตุมวดี ทรงพระนามว่าสังขกุมาร ครั้นเจริญวัยแล้วก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนาม
ว่าสมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมกษัตริย์ มีทวีปน้อยใหญ่เป็นบริวาร พระองค์จึงได้สละราชสมบัติบ้าน
เมืองออกไปบรรพชา ในสำนักพระศรีอริยเมตไตรย์ กับทั้งบริวาร ๑ โกฎิ ก็ได้ถึงอรหันต์ได้เป็นอัคร
สาวกเบื้องขวา ทรงพระนามอโสกเถระ ก็ด้วยอานิสงส์ได้สร้างกุฎีให้เป็นทานนั้นแล อันเป็นบุญให้ถึง
ความสุข ๓ ประการ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
ที่มา http://www.84000.org/anisong/10.html
คำถวายเสนาสนะ สร้างกุฏิ วิหารให้สงฆ์
อิมานิ มะยัง ภันเต เสนาสะนานิ อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ เสนาสะนานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
ที่มา https://th.wikisource.org
ขั้นตอนพิธีสงฆ์ ทำบุญถวายทาน
รวบรวมโดย : วิกูล โพธิ์นาง
อดีต : กิตติปัญโญ ภิกขุ นักธรรมเอก วัดทุ่งจันทร์สมุทร หล่มสัก เพชรบูรณ์
๑. เมื่อพระคุณเจ้ามาถึงพิธี นิมนต์ให้ท่านนั่งพักผ่อน พร้อมกับประเคนน้ำ หรือเครื่องดื่ม เมื่อดูว่าท่านหายเหนื่อยแล้วให้เริ่มพิธี
๒. ประธานในพิธีจุดเทียนธูป เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ( จุดเทียนก่อน โดยจุดด้านขวาของพระประธาน )
๓. กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมะ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมะ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมะ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
๔. อาราธนาศีล ๕ ไม่ต้องกล่าว นโมฯ (ฆราวาสผู้นำกล่าว)
มะยังภันเต วิสูง วิสูง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสูง วิสูง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสูง วิสูง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
๕. รับศีล ว่าตามพระคุณเจ้า (ทุกคนที่มาร่วมพิธี)
๖. อาราธนาพระปริต (ฆราวาสผู้นำกล่าว)
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
๗. จุดเทียนทำน้ำพระพุทธมนต์ เมื่อพระคุณเจ้าสวดถึงบทอเสวนา จ พาลานัง ฯ (ประธานในพิธี)
๘. ถวายข้าวพระพุทธ (โดยให้ประธานยกถวายที่หน้าพระพุทธรูป โดยวางให้สูงกว่าอาสนะพระภิกษุ)
อิมัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมะ
๙. ประเคนภัตตาหาร เพื่อให้พระคุณเจ้าฉัน (ช่วยๆกันประเคน)
๑๐.
เมื่อพระคุณเจ้าฉันเสร็จแล้วให้นำจตุปัจจัยและหรือสังฆทานมาวางรอไว้ที่หน้าพระทุกรูป
และเจ้าภาพเข้ามาที่ต่อหน้าพระเพื่อยกถวาย
หลังจากที่กล่าวคำถวายสังฆทานแล้ว
๑๑. ลาข้าวพระพุทธ (ฆราวาสผู้นำกล่าว)
เสสัง มังคะลา ยาจามะ
๑๓. ถวายสังฆทาน (ฆราวาสผู้นำกล่าว)
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ
ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ
๑๔. พระคุณเจ้าสวดอนุโมทนา เจ้าภาพและผู้ร่วมงานกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศล
๑๕. พระคุณเจ้าประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งสวดชยันโตฯ ทุกๆท่านพนมมือรับน้ำพระพุทธมนต์
๑๖. เจ้าภาพนำจตุปัจจัยขึ้นรถเพื่อส่งพระกลับวัด
๑๗ เสร็จพิธี
๑๘. หมายเหตุ
๑๘.๑ ถ้าหากมีการเจิมเครื่องจักร หรืออาคารสถานที่ ก็นิมนต์พระคุณเจ้าเข้าไปเจิมได้เลยหลังจากที่พรมน้ำพระพุทธมนต์แล้ว ทั้งนี้ให้มีผู้ถือขันน้ำพระพุทธมนต์เดินตามพระคุณเจ้าด้วย
พร้อมทั้งเดินนำท่านว่าจะให้ไปที่ใด
และต้องเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับเจิมให้เรียบร้อย
คือขี้ผึ้งสำหรับติดแผ่นทอง แผ่นทอง แป้งเจิม
วางโต๊ะหรือเก้าอี้เพื่อให้พระท่านยืนได้สะดวก ถ้าจุดเจิมอยู่สูง
๑๘.๒ หากมีการแสดงธรรม (ฆราวาสผู้นำกล่าว) เมื่อพระคุณเจ้าแสดงธรรมเสร็จ ก็ถวายจตุปัจจัยไทยทานตามกำลังศรัทธา
อาราะนาธรรม
พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีถะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
ทเสตุ ฮัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง
ความรู้ทั่วไปในศาสนพิธี
เทียน และ ธูป ให้ทาด้วยยาหม่อง จะทำให้จุดง่าย ไม่ต้องใช้สำลีเพราะจะทำให้ไฟลุกเกินจำเป็นและจะทำให้เทียนละลายได้
เวลาอาราธนาศีล ไม่ต้องขึ้น นโมฯ เพราะจะรับกับพระขณะที่ท่านให้ศีลอยู่แล้ว ส่วนบทอื่นๆ ให้ขึ้นนโมฯ ก่อนทุกครั้ง
ระวังควรหันหน้าพระพุทธรูปและพระสงฆ์ไปทางทิศตะวันออก (ถ้าจำเป็นก็ตามสะดวก)
ควรหาโอกาสสนทนากับพระคุณเจ้ารูปที่จะมาในงานก่อนเสมอเพื่อที่จะได้เข้าใจในขั้นตอนต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/wikulponang/2009/07/29/entry-2